ตำนานการกำเนิดพระแม่ลักษมี

พระแม่ลักษมีเทวีแห่งความมั่งคั่งและโชคลาภในศาสนาฮินดู
พระแม่ลักษมีเป็นเทวีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในศาสนาฮินดู โดยทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งโชคลาภ ความมั่งคั่งร่ำรวย และความอุดมสมบูรณ์ ตามความเชื่อ พระแม่มีกำเนิดจากการกวนเกษียรสมุทร เพื่อทำน้ำอมฤต โดยผุดขึ้นมาจากฟองน้ำ ประทับนั่งบนดอกบัว และถือดอกบัว จึงมีพระนามว่า "ปัทมา" หรือ "กมลา"
พระแม่ลักษมีทรงเป็นพระชายาคู่บารมีของพระนารายณ์ (พระวิษณุ) และได้รับการยกย่องว่ามีสิริโฉมงดงามเหนือเทวีใด ๆ ในวรรณคดีรามเกียรติ์ พระแม่ลักษมีได้อวตารเป็นนางสีดา เพื่อเป็นมเหสีของพระนารายณ์ที่อวตารเป็นพระราม
รูปลักษณ์ของพระแม่ลักษมี
มักปรากฏในรูปของสตรีสวมศิราภรณ์แบบกษัตริย์
พระหัตถ์ทั้งสองถือดอกบัว
นอกจากนี้ยังมีปางอื่นๆ ที่เรียกว่า "อัษฏลักษมี" (8 ปาง) ซึ่งแตกต่างกันไปตามคัมภีร์ต่างๆ
ปางต่างๆ ของพระแม่ลักษมี
พระแม่ลักษมีในศาสนาฮินดูไม่ได้มีเพียงรูปลักษณ์เดียว แต่ปรากฏในหลากหลายปาง แต่ละปางมีความหมายและบทบาทที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ธนลักษมี (Dhanalakshmi)
รูปกายสีขาว มี 4-6 กร
พระหัตถ์ถือรวงข้าว หอยสังข์ หม้อน้ำ หรือสิ่งที่แสดงความอุดมสมบูรณ์
พระหัตถ์หนึ่งมีเงินทองโปรยลงพื้น บางครั้งมีไหเงินไหทองบนพระเพลา
นิยมบูชาในด้านการเงิน
ไอศวรรยลักษมี (Aiswaryalakshmi)
มี 4 กร พระหัตถ์ถือดอกบัว
สวมพัสตราภรณ์ไม่ปักลายหรือสีสด
นับถือในฐานะเทพีแห่งความมั่งคั่ง
วิชัยลักษมี (Vijayalakshmi)
มี 8 กร พระหัตถ์ถือสิ่งของต่างๆ โดยเฉพาะอาวุธ เช่น จักร พระขรรค์ โล่ บ่วง สังข์ ดอกบัว
นิยมบูชาก่อนออกรบ เนื่องจากนับถือเป็นเทพีแห่งชัยชนะ
สันทนลักษมี (Santhanalakshmi)
มี 6 กร 2 กรหลังสุดถือหม้อน้ำและมีกุมารนั่งบนตัก
นิยมบูชาเพื่อขอบุตร
คชลักษมี (Gaja lakshmi)
มี 4 กร สวมศิราภรณ์ในวรรณะกษัตริย์
ด้านข้างขนาบด้วยช้างสองเชือกกำลังรดน้ำบนพระเศียร
วีรลักษมี (Viralakshmi)
มี 8 กร สวมพัสตราภรณ์สีแดง
พระหัตถ์ถือจักร สังข์ คันธนู ตรีศูลย์ พระขรรค์ โล่ ฑมรุ (กลองสองหน้า) คัมภีร์ หรืออาวุธต่างๆ
บูชาก่อนการสู้รบเพื่อเสริมพลังและความกล้าหาญ
ธัญญลักษมี (Dhanyalakshmi)
มี 4-8 กร สวมพัสตราภรณ์สีเขียว ประทับนั่งบนดอกบัว
พระหัตถ์ถือพระขรรค์ คทา กล้วย รวงข้าว ดอกบัว สังข์ (ขึ้นอยู่กับคัมภีร์)
เป็นอวตารของพระแม่โพสพ เทพีแห่งข้าวและความอุดมสมบูรณ์
อธิลักษมี (Adhilakshmi)
เป็นอวตารของพระลักษมีในฐานะบุตรีแห่งฤษีภฤคุ มี 4 กร
พระหัตถ์ซ้ายหลังถือธง พระหัตถ์ขวาหลังถือดอกบัว
พระหัตถ์หน้าซ้ายทำท่าประทานพร พระหัตถ์หน้าขวาทำท่าประทานอภัย
นิยมบูชาในด้านสุขภาพ
วิทยลักษมี (Vidyalakshmi)
ปรากฏแทนที่ปางไอศวรรยลักษมีในบางครั้ง
มี 4 กร สวมพัสตราภรณ์สีขาว
สองพระหัตถ์หน้าทำท่าประทานอภัยและประทานพร สองพระหัตถ์หลังถือคัมภีร์พระเวทและขนนก
นับถือในฐานะเทพีแห่งความรู้เช่นเดียวกับพระสรัสวดี
ปางต่างๆ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของบทบาทและพลังอำนาจของพระแม่ลักษมี ซึ่งผู้ศรัทธาสามารถเลือกบูชาปางที่เหมาะสมกับความปรารถนาของตนเองได้